การตรวจสุขภาพการนอนหลับ / Sleep Test


การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (
Sleep test ) คืออะไร
          การตรวจสุขภาพการนอนหลับเป็น การตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายระหว่างการนอนหลับ  เช่น ระบบการหายใจ  ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ รวมถึง ศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย  ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (gold standard) สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น 

เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจ Sleep test
            ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจ sleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติทั้งๆที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้วผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ  หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอน ผิดปรกติอื่นๆ  
เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้าน
โรคการนอนหลับโดยตรง หรือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้องเช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, หรือกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อสอบถามประวัติ
และตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่างๆ

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep test
            เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (standard investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure titration) กรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (oral appliances) นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจ
และใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย

 ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) การตรวจนี้
จะมีเพียงการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจ
ร่วมด้วย
 หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ 2 อย่างไรก็ตามผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง  
เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมิน ประสิทธิภาพในการนอน
รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า

แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=668

 



                                                





ให้คำปรึกษาและนัดหมายการตรวจสุขภาพการนอน Sleep test

 



ตรวจสอบสิทธิการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ